วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติของน้ำหอม

ประวัติของน้ำหอม (Perfume)
        ประวัติของน้ำหอมมีความเกี่ยวพันอันลึกซึ้งกับวิวัฒนาการของเผ่าพันธ์มนุษย์ เมื่อครั้งก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์รู้จักการปรุงแต่งรสอาหารด้วยการเอากลิ่นหอมจากน้ำมันและเนื้อไม้ ชาวอียิปต์โบราณบูชาเทพเจ้าของเขาด้วยเครื่องหอมและน้ำมันหอมระเหย ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเฉลิมฉลองพิธีการต่างๆ ทางด้านศาสนาและประทินความงามของสตรี ชาวกรีกจะเดินทางกลับจากการแสวงหาโชคต่างแดนด้วยการนำเครื่องหอมใหม่กลับมาด้วย ในขณะที่ชาวโรมันโบราณเชื่อว่าน้ำหอมมีคุณสมบัติด้านการบำบัดโรคร้ายได้

        การใช้น้ำหอมได้ลดน้อยถอยลงในยุโรปเนื่องจากการบุกรุกเหยียบย่ำของพวกป่าเถื่อน แต่ศิลปะและการพัฒนาของน้ำหอมกลับเกิดขึ้นในโลกอิสลาม ถึงแม้ว่าได้มีการคิดผลิต เทคนิคต่างๆในการกลั่นและผลิตสารหอม ชาวอาหรับและชาวเปอร์เชียได้กลายเป็นผู้นำในการใช้เครื่องหอมอย่างไม่สามารถโต้เถียงได้
   จนกระทั่งในศตวรรษที่ 12 โลกของชาวคริสเตียนได้กลับมาให้อารยธรรมสำคัญ และค้นคว้าเกี่ยวกับการสกัดน้ำหอม ทั้งนี้เนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความมีอารยธรรม และด้วยเหตุผลของสุขลักษณะที่ดี ในขณะที่มีความเชื่อในด้านตรงกันข้ามว่ากลิ่นที่เป็นพิษเป็นบ่อเกิดของโรคร้าย และเสื่อมถอย  ในศตวรรษที่ 16 เป็นสมัยแห่งการรวมตัวเป็นหนึ่งระหว่างการทำถุงมือ และน้ำหอม เป็นยุคแห่งแฟชั่นของของถุงมือหอม แม้ว่าชนชั้นสูงในสมัยกลางของยุโรป ได้มีการชำระล้างร่างกายเป็นประจำ ในทางปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้ได้ถูกละเลยมาถึง 2 ศตวรรษ หลังจากการฟื้นฟูศิลปะวิทยาในทวีปยุโรป  ในระหว่างศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งเป็นผงสืบเนื่องจาก สภาของเทรนท์  ( Council of trent)การจำหน่ายน้ำหอมจึงได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในการกลบกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์        ในศตวรรษที่ 17 ซีเวต ( Civet) และมัส (Musk) ได้กลายเป็นแฟชั่นในขณะที่ความพึ่งพอใจในกลิ่นที่หอมหวาน ดอกไม้ และกลิ่นผลไม้ ได้เข้าแทนที่ กลิ่นยั่วยวนใหม่ๆ เป็นแม่กลิ่นในศตวรรษที่ 18 มีการใช้น้ำหอมตัวใหม่ๆ และขวดน้ำหอมที่ผลิตขึ้นอย่างสุรุ่ยสุร่าย แม้กระทั่งมีการเติมน้ำหอมลงไปในถ่านร้อนๆ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอม ในวันที่เรียกกันว่า  Ash Wednesday  เถ้าถ่านแห่งวันพุธ ความเจริญก้าวหน้าในด้านอุตสาหะกรรมเคมี ในศตวรรษที่ 19 ทำให้มีการผลิตน้ำหอมสังเคราะห์ ตลอดจนถึงน้ำหอมที่สกัดจากธรรมชาติ และการประดิษฐ์ขึ้นของน้ำหอมกลิ่นใหม่ การผลิตน้ำหอมในเชิงทางการค้าได้อุบัติขึ้นในฝรั่งเศส ณ.เมืองกราเซ (Grasse) ท่ามกลางความเจริญมั่งคั่งของธุรกิจทางการค้าน้ำหอม ความหรูหรา ความก้าวหน้าเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความรุ่งเรืองในศตวรรษที่ 20 น้ำหอมยังคงเป็นขุมสมบัติที่ถูกรักษาไว้เพื่อรอการขุดค้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้เข้าสู่โลกของศิลปะและสิทธิพิเศษ ตลอดจนได้เข้าสู่สมรภูมิการค้าที่ปราศจากความปราณี  น้ำหอมในทางโบราณคดีแบ่งตามประเทศ และอารยธรรม  อียิปต์โบราณ  แม้ว่าน้ำหอมรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันจะมีพื้นฐานเป็นส่วนผสมของแอลกอฮอล์ แต่ในสมัยอียิปต์โบราณหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ น้ำหอมมีบทบาทสำคัญในการเจริญก้าวหน้าของสังคมเป็นอย่างมาก มีสองปัจจัยหลักในการใช้น้ำหอมในขณะนั้นใช้ในการเผาเพื่อกลิ่นหอม และผสมเป็นขี้ผึ้งเพื่อทาตัว วิธีการอบหรือรมควัน ตลอดจนการเผาไม้หอม,เครื่องเทศ,ผลไม้แห้ง และยางไม้ต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งกลิ่นหอมนานาชนิดที่กระจายไปในอากาศได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติ ภายในวัดเพื่อพิธีกรรมทางศาสนาจากวัตถุดิบพื้นๆ ได้กลายเป็นการผสมผสานเครื่องหอมหลายชนิดเข้าด้วยกัน ให้ได้มาซึ่งกลิ่นหอมใหม่ๆ หลักฐานสำคัญที่ได้ค้นพบในบทบันทึกของ EDFOU และ PHILAE เป็นข้อมูลอันล้ำค่าที่ได้บอกเล่าถึงวิวัฒนาการเกี่ยวกับน้ำหอมจากตัวอักษรโบราณในเอกสารเก่าแก่ที่ได้ค้นพบในสมันนั้น เราได้ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตำรา หรือวิธีปรุงแต่งกลิ่นหอมตามตำรับโบราณ เครื่องหอมที่ขึ้นชื่อและสำคัญในสมัยนั้น อาทิ KYPHI MYRRH,LENTISK,JUNIPER , FENUGREENSEED,PISTACHIO และ CHUFA ได้ถูกนำมาบดและร่อนเป็นผงละเอียด ผงเหล่านี้ได้ถูกนำมาผสมกับไวน์ ก่อนจะถูกนำมาต้มพร้อมกับยางสน และน้ำผึ้งให้ข้นและเหนียว ชาวอียิปต์ได้ใช้สองสิ่งประดิษฐ์นี้ในการเผาเครื่องหอม ภาชนะเผาเครื่องหอมด้วยถ่านชนิดโลหะ และ INCENSE ARM เครื่องมือจับเครื่องหอมมีลักษณะเป็นด้ามถือไม้หรือโลหะ มีปลายอีกด้านหนึ่งสามารถรองรับด้วยโลหะเล็กๆ ที่บรรจุเครื่องหอมอยู่ ขี้ผึ้งหอมและน้ำหอมได้มีการนำมาใช้กับผิวหนังบนร่างกาย ทั้งทางในลักษณะของเครื่องสำอางค และทางด้านยา เนื่องจากการกลั่นและแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ยังไม่เป็นที่รู้จักในสมัยนั้น ดังนั้นไขมันสัตว์และน้ำมันพืชได้ถูกนำมาใช้ในการดูดซึมซับกลิ่นหอมจากดอกไม้และยางไม้ สีผสมและยากันบูดได้ถูกผสมลงไปในสารสกัดนั้นด้วย ขี้ผึ้งหอมที่ได้มาได้ถุกแบ่งบรรจุไว้ในหม้อและแจกันซึ่งสลักจากหินปูนชนิดหนึ่ง เครื่องปั้นดินเผา,หินแกะสลัก, หรือขวดเซรามิกสำหรับบรรจุจะถูกทำขึ้นเป็นรูปสัตว์ ขวดแก้วได้ถูกค้นพบในเวลาต่อมา ในรูปแบบเหยือก แจกัน และแก้วเหล้าที่มีสีผสมหลายๆสีในชิ้นเดียวกัน ในระหว่างสมัยเก่าและกลางในอาณาจักรที่ปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดิน น้ำหอมได้ถูกสงวนไว้เพื่อใช้ในพิธีกรรมเฉลิมฉลองต่างๆ โดยเฉพาะ อาทิพิธีฉลองทำความสะอาดร่างกาย ใช้ชโลมร่างกายของผู้ตายและบูชาเทพเจ้า ในที่สุดน้ำหอมได้ถูกนำมาใช้สำหรับเทศกาลต่างๆ ในสมัยอาณาจักรสมัยใหม่ ปี ค.ศ. 1580 - 1085 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเรียกกันว่าเป็นน้ำหอมพิเศษสำหรับเทศกาล แต่อย่างไรก็ตามน้ำหอมเหล่านั้นก็ยังถูกจัดเตรียมขึ้นโดยพระผู้สอนศาสนา สตรีอียิปต์ก็ใช้น้ำหอมในรูปครีมและน้ำมันหอมระเหยในรูปของ TOILETRIES และเครื่องสำอาง เพื่อเสริมสร้างเสน่ห์ตัวเองในระหว่างมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคู่รักของตน


        ยุคสมัยกรีก เจริญรอยตามตามชาวอียิปต์ ชาวกรีก ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำหอมขึ้นมาอีกมากมายทั้งเพื่อจุดประสงค์ทางการใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาและใช้ประจำวัน น้ำหอมได้มาเป็นแฟชั่นในยุคกรีก ได้มีการนำมาใช้กับเสื้อผ้า บนเรือนร่าง ทั้งในรูปของน้ำมันและครีม ไม่ว่าเป็นหลังอาบน้ำชำระล้างร่างกายก่อนและหลังอาหาร ด้วยจุดประสงค์ของสุขลักษณะและความสุขส่วนตัวชาวกรีกเชื่อว่าน้ำหอมเป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานให้ ร่างกายของผู้ตายจะถูกชโลมด้วยน้ำหอมก่อนที่จะนำไปฝังพร้อมกับของใช้ส่วนตัวของผู้ตายซึ่งมักจะมีขวดบรรจุน้ำหอมด้วย ครีมน้ำหอมได้ถุกบรรจุด้วยภาชนะทรงกลมซึ่งทำให้สามารถนำไปใช้กับร่างกายโดยตรงได้อย่างสะดวกสบาย ภาชนะที่ใช้บรรจุสมันนั้นมักทำจากหินปูนขาวชนิดหนึ่งและถูกตกแต่งให้สวยงามตามแบบฉบับของสไตล์เอเธน (ATHENIA STYLE) จากศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาลเป็นต้นมา ขวดต่างที่ทำในเกาะโรดส์(RHODES)ในแคว้นแหลมบอลข่าน จะมีรูปทรงตามแบบต้นฉบับดั้งเดิมจะมีฐานที่ค่อนข้างกว้าง ส่วนบนเป็นรูปสลักครึ่งตัวของเทพเจ้า,รูปสัตว์,รูปนางเงือก และอื่นๆ
 
        ยุคสมัยโรมัน  ด้วยอิทธิพลจากประเทศในตะวันออกและกรีก ชาวโรมันไม่ทำการศึกษาค้นคว้าน้ำหอม ด้วยความหลักแหลมและรวดเร็วพร้อมไปกับเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ของชาวโรมัน ถึงแม้ว่าจูเลียต ซีซ่า (JULIUS CAESAR)ผู้ยิ่งใหญ่จะมีความประสงค์ให้ระงับการใช้น้ำหอมที่ได้มาจากต่างแดน การใช้น้ำหอมในพิธีศพ และพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนชีวิตประจำวันของชาวโรมัน จนถึง อินเดีย,แอฟริกา ตลอดจนแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางแถบอาหรับ โดยสืบเนื่องจากการเจริญเติบโตของเส้นทางเดินเรือตลอดจนความรุ่งเรือง การเดินทางของเหล่าพ่อค้าวานิช ซึ่งได้มีการเดินทางติดต่อระหว่างทวีปใหม่ๆ ในสมัยนั้น การค้าขายน้ำหอมในสมันนั้นมักจะเชื่อมโยงกับทางการแพทย์ เภสัชกร และร้านขายยา ชาวโรมันเชื่อว่าน้ำหอมมีคุณสมบัติทางด้านเป็นยารักษาโรค การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ได้แก่การนำเครื่องแก้วมาเป็นภาชนะบรรจุเครื่องหอมต่างๆ ชาวโรมันได้พัฒนาเทคนิคการเป่าแก้ว ซึ่งได้คิดค้นขึ้นในประเทศ ซีเรีย (SYRIA)ในศตวรรษที่1 ก่อนคริสตกาล         ยุคแห่งโลกอิสลาม  การแผ่ขยายอำนาจของอาณาจักรคริสเตียน ในโลกตะวันตก ได้นำมาซึ่งความเสื่อมถอยของการใช้น้ำหอม ทั้งในด้านชีวิตประจำวันเพื่อความพอใจส่วนตัวและทางด้านพิธีกรรมทางศาสนา การฝังเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ตายได้เป็นไปในทางลดลงจนถึงจางหายไป ในทางตรงข้ามกลับมีชีวิตชีวาและเจริญรุ่งเรือง ในโลกอาหรับสืบเนื่องจากธุรกิจจากการค้าเครื่องเทศ การคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องกลั่นตลอดจนเทคนิคการกลั่นใหม่ๆ สวนดอกไม้ในพระราชวังอัลฮัมบรา (ALHAMBRA PALACE)ในเมืองทางตอนใต้ของประเทศสเปน ชื่อ กรานนาดา(GRANADA)เป็นสิ่งเพียงพอสำหรับการยืนยันถึงความสง่างาม โก้หรู และบทบาทความสำคัญของน้ำหอมที่มีต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนสมันนั้น แม้กระทั่งโมฮัมเม็ด(MOHAMMED)เองก็ยังทรงตรัสว่าสิ่งที่ท่านรักมากที่สุดในโลกได้แก่ สตรี เด็ก และน้ำหอม ยุโรปกลับต้องรอจนกระทั่งสงครามครูเสด (CRUSADES)และการแทรกแซงจากนักรบครูเสดชาวเวนิส ซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนให้ชาวโลกเรียกร้องเกี่ยวกับความสุขกายสบายใจมากกว่าความยึดมั่นในพระเจ้า และความเคร่งครัดทางศาสนา การค้นพบวิธีการใช้สบู่และตลอดจนการกลับมานิยมใช้น้ำหอม


        ประวัติความเป็นมาของน้ำหอมจากยุคกลาง สู่ศตวรรษที่ 17  ความตกต่ำของจักรวรรดิ์โรมัน และจากการรุกรานของพวกป่าเถื่อน (Barbarian) และสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น ส่งผลให้ความเจริญทางด้านน้ำหอมของโลกตะวันตกได้ตกอยู่ในโลกมืด ความสำคัญเกี่ยวกับน้ำหอมที่มีต่อชีวิตประจำวันได้ลดน้อยลง ตราบจนกระทั่งในศตวรรษที่ 20 จากการพัฒนาทางการค้าสากล ความตกต่ำทางด้านน้ำหอมจึงได้หยุดลง การก่อตั้งของมหาวิทยาลัยในหัวเมืองสำคัญต่างๆ พร้อมกับการศึกษาค้นคว้าทางเคมี ตลอดจนเทคนิคการกลั่นที่ได้เรียนรู้จากโลกอาหรับได้เพิ่มพูนความรู้ทักษะ และเทคนิคในการผลิตน้ำหอมในสมัยนั้น ในขณะที่ Frank incense และ Myrrh ยังคงเป็นน้ำหอมที่ใช้ในการสักการะบูชา  พระเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง และผู้ครองแคว้นได้ค้นพบถึงความรู้สึกสะอาดและคุณสมบัติทางด้านชวนให้หลงใหลของน้ำหอม เมื่อฉีดกระจายลงบนเสื้อผ้าของพวกเขา พวกเขาจะอาบน้ำด้วยน้ำหอมระเหยจากดอกไม้เป็นประจำเพื่อเคลือบตัวของพวกเขาด้วยน้ำมันหอมเหมือนดั่งพวก เอเธนส์ ที่เคยทำมาก่อน แม้ว่าจะมีข้อจำกัดที่มากกว่า ในทางตรงข้ามกับความรู้ที่ได้รับ การซักล้างและการอาบน้ำได้รับความนิยมมากในช่วงยุคกลาง (Middle ages)ภาชนะบรรจุชนิดใหม่ๆ ได้ถูกออกแบบขึ้น สำหรับการเก็บ Musk , Ambergris และน้ำมันหอมระเหยชนิดต่างๆ ตลอดจนการค้นพบของยางสนและยางไม้หอมต่างๆ กล่องใส่น้ำหอมทรงกลมในลักษณะคล้ายลูกโลกทำด้วยโลหะ ซึ่งสามารถแพร่กระจายกลิ่นผ่านทางฝาเปิดส่วนบนที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม น้ำหอมได้รับการเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการบำบัดโรค สามารถบำบัดโรคระบาดต่างๆ โรคเกี่ยวกับผิวหนัง ระบบย่อยอาหาร ใช้ในสารกันบูด เป็นต้น    ในขณะที่เครื่องเทศได้ถูกนำเข้าสู่ยุโรปโดยผ่านเมืองเวนิส(Venice)เมืองนี้จึงได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งน้ำหอม มาโคโปโร (Marco Polo) ได้เดินทางกลับจากการเดินเรือของเขาพร้อมพริกไทย,ลูกจัน และกานพลู นักเดินเรือชาวอาหรับเดินทางนำเครื่องเทศไปยังอินเดียและซีลอน (Ceylon)ซึ่งพวกเขาสามารถทำการค้ากับพ่อค้าชาวเอเชีย และได้นำเครื่องเทศจากประเทศจีนและประเทศมาเลเซีย พวกเขาได้นำเอาอบเชย,ขิง,ลูกกระวาน และ Saffron (หญ้าฝรั่งชนิดหนึ่งมีสีส้ม)   ในขณะที่ Aniseed ,Thyme  Sage , Basil และ Cumin ได้มีการเพาะปลูกแล้วในยุโรปมาช่วงระยะหนึ่งแล้วในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 ได้ปรากฏพบซึ่งน้ำหอมในรูปของเหลว ผลิตโดยการผสมและปรุงแต่งให้เข้าด้วยกันกับน้ำมันหอมระเหยหลากชนิดและแอลกอฮอล์ ซึ่งเรียกกันในชื่อว่า Eaux de senteur หรือกลิ่นหอมในสมัยนั้น นี่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก เชื่อมโยงไปยังจุดเริ่มต้นของการผลิตน้ำหอม Rosemary และได้รับการตั้งชื่อหลังจากพระราชินีของฮังการีตามตำนานที่เล่าต่อกันมา พบว่ากลิ่นหอมได้ถูกถวายให้กับราชินีอลิซาเบธ ของฮังการี(Queen Elizabeth of Hungary) ในปีคศ.1380 โดยขณะที่พระราชินี มีพระชนณ์มายุได้ 70 พรรษา และทรงมีพระวรกายที่ทรุดโทรม แต่เมื่อพระนางได้ดื่มน้ำจันที่นักบวชถวายให้ ร่างกายก็ฟื้นดีขึ้น เรื่องเล่าได้บอกว่ามันได้ทำให้พระนางกลับเป็นสาวอีกครั้งถึงขนาดที่พระราชาจากโปแลนด์ (Poland)ได้ขอแต่งงานด้วย  การค้นพบอเมริกาในศตวรรษที่ 14 ทำให้เมืองเวนิส (Venice)ต้องสูญเสียความเป็นศูนย์กลางของน้ำหอม เริ่มต้นจากชาวโปตุเกส (Portuguese) และชาวสเปน (Spain) ได้ขยายอาณาจักรการค้าเครื่องเทศโดยมี วานิลา โกโก้ ใบยาสูบ อบเชย และอื่นๆ ในศตวรรษที่ 16 ชาวดัช (Dutch)ได้เป็นผู้ให้คำแนะนำในการผลิตและพัฒนาวิธีการเพาะปลูกใหม่ๆให้ชาวท้องถิ่น  Eaux de senteur ได้เพิ่มชนิดและจำนวนขึ้น เริ่มจากการผสมน้ำมันหอมระเหยเดี่ยวเข้าด้วยกัน แอลกอฮอล์ เช่นกุหลาบ ลาเวนเดอร์ ดอกส้ม เป็นต้น หรือผสมกันหลายกลิ่น ซึ่งมีการผสมระหว่าง ดอกไม้ เครื่องเทศ รวมทั้ง มัส (Musk) แอมเบอร์กริส (Ambergris)ในทางความต้องการทางเวชศาสตร์ มันได้ช่วยในการจำกัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาที่ผลิตโดยร่างกายของเรา ในขณะที่ช่วงกลางศตวรรษของยุโรปเป็นช่วงแห่งการให้ความสำคัญในสุขลักษณะเฉพาะบุคคล มีความแตกต่างเรื่องการฟื้นฟูศิลปะวิทยาในทวีปยุโรประหว่างศตวรรษที่ 14 และ 16 เมื่อถูกกำหนดให้เป็นพาหะนำโรคร้าย และการติดเชื้อ ศาสตร์และเทคนิคการเป่าแก้วของชาวเวนิสได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตขวดยาขนาดเล็กๆ และหลอดแก้วเล็กๆ สำหรับบรรจุน้ำหอม คริสตัล และแก้วสีขาวขุ่น ตลอดจนเครื่องเขียนจากตะวันออก เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ขวดรูปลูกแพ (Pear-shaped bottle)ทำจากวัสดุที่กล่าวมาข้างต้นตลอดจากทำจากโลหะ ได้ถูกค้นพบเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ภาชนะรูปทรงกลมคล้ายลูกโลก, ภาชนะคล้ายผลส้ม ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลีบๆได้ และในแต่ละกลีบนั้นบรรจุน้ำหอมในกลิ่นที่ต่างๆ กันไป น้ำหอมได้เดินทางมาถึงจุดที่รุ่งเรืองที่สุดในศตวรรษที่ 17 ความบ้าคลั่งในการพัฒนาน้ำหอม กระทั่งการละเลยในเรื่องของมาตรฐาน ความสะอาดของใบหน้าและวิกผมที่ใส่กันเวลาพิพากษาในศาลในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังถูกทำให้หอมด้วยแป้งหอม และน้ำหอม ปี  ค.ศ.1656 ถุงมือหอมได้ถือกำเนิดขึ้น ความหลงใหลในการสวมใส่ถุงมือของชนชั้นสูงโดยการขาดการเรียนรู้ถึงวิธีที่ถูกต้อง ทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาบนผิวหนัง น้ำหอมชนิดแรงจึงถูกนำมาใช้ในการกลบกลิ่นโดยพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13-14 ผู้ผลิตถุงมือได้ใช้โอกาสในการเป็นผู้จำหน่ายเพียงผู้เดียวของผู้กลั่นน้ำหอมและนักผลิตน้ำหอม        ในศตวรรษที่ 17 ได้เริ่มมีการใช้ Jasmin, Tuberose และ Rose ในกลุ่มของวัตถุดิบเหล่านี้มาผลิตน้ำหอม เครื่องหอมบรรจุในขวดรูปทรงกลมได้มีการกระจายการใช้กว้างขึ้น และได้ใช้ต่อกันมาจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 18 ขวดได้ถูกผลิตขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่นผลแพร (Pear shape)ทำให้มีหลายสีสัน เช่นทำให้มีสีใสคล้ายคริสตัล และสีขุ่น การแกะสลักเป็นลวดลายบนภาชนะเงินปิดด้วยทองเป็นที่นิยมมาก การเคลือบด้วยทองแดง , เงิน , ทอง หรือแม้กระทั่งประดับด้วยพลอยประดิษฐ์ประดอยตามแบบที่นิยมกันในศตวรรษที่ 17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น