วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

การจัดดอกไม้สด

การจัดดอกไม้ ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ เพราะจะต้องใช้ดอกไม้ที่แตกต่างกันในหลากหลายสี การไล่โทน การนำเอาดอกไม้หรือใบไม้ ตลอดจนวัสดุต่าง ๆ มาจัดให้อยู่ในองค์ประกอบทางศิลปะ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กัน และทำให้เกิดมุมมองที่สวยงาม นับได้ว่าเป็นศิลปะและวิวัฒนาการที่สืบทอดกันมาช้านาน การจัดดอกไม้โดยส่วนใหญ่นิยมจัดเลียนแบบดอกไม้สดธรรมชาติ
ภาพ:Flower.jpg
หลักการจัดดอกไม้
สิ่งที่ต้องเตรียม
        1. ภาชนะสำหรับจัด หมายถึง ภาชนะสำหรับรองรับดอกไม้มีหลายชนิด เช่น แจกันรูปทรงต่าง ๆ เช่น กระบุง ตะกร้า ชะลอม
        2. ที่สำหรับรองภาชนะ เมื่อจัดดอกไม้เสร็จควรมีสิ่งรองรับเพื่อความสวยงาม ความโดดเด่นของแจกัน เช่นไม้ไผ่ขัดหรือสานเป็นแพ กระจก แป้นไม้
        3. กรรไกรสำหรับตัดแต่ง
        4. เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ลวด ทราย ดินน้ำมัน กระดาษสี ฟลอร่าเทปสีเขียว ก้านมะพร้าว ลวดเบอร์ 24 และ เบอร์ 30
        5. ดอกไม้ประดิษฐ์พร้อมใบไม้สำเร็จ
        6. เครื่องประกอบตกแต่ง เช่น กิ่งไม้ ขอนไม้ ตุ๊กตา ขดลวด เป็นต้น

ภาพ:Flo2.jpg
ดอกไม้ที่นิยมใช้
1. เลือกดอกไม้ตามวัตถุประสงค์สำหรับงานนั้น ๆ
        2. ความทนทานของดอกไม้ประดิษฐ์
        3. ขนาด เลือกให้เหมาะกับภาชนะ สถานที่ตั้ง และแบบของการจัด
        4. การเลือกสี ต้องดูฉากด้านหลังและจุดประสงค์ว่าต้องการ กลมกลืน หรือตัดกัน
        5. ความนิยม เช่นดอกกุหลาบนิยมใช้ในงานมงคล ดอกบัวใช้บูชาพระ
สิ่งควรคำนึงในการจัด ดอกไม้
1. สัดส่วน ควรให้ความสูงของดอกไม้พอดีกับแจกันเช่น แจกันทรงสูง ดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 - 2 เท่าของความสูงของแจกัน สำหรับแจกันทรงเตี้ยดอกไม้ดอกแรกควรสูง เท่ากับ 1.5 - 2 เท่าของความกว้างของแจกัน
        2. ความสมดุยลควรจัดให้มีความสมดุลไม่หนักหรือเอียงข้างใดข้างหนึ่ง
        3. ความกลมกลืน เป็นหัวใจของการจัดต้องมีความสัมพันธ์ทุกด้านตั้งแต่ขนาดของแจกัน ความเล็กและใหญ่ของดอกไม้ ความมากน้อยของใบที่นำมาประกอบ
        4. ความแตกต่าง เป็นการจัดที่ทำให้สวยงามสะดุดตา เช่นจัดดอกไม้เล็ก ๆ และมีดอกใหญ่เด่นขึ้นมา
        5. ช่วงจังหวะ ช่วยให้ดอกไม้มีชีวิตมากขึ้น ควรไล่ขนาด ดอกตูม ดอกแย้ม จนถึงดอกบาน
        6. การเทียบส่วน เป็นความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ดอกเล็กควรใส่แจกันใบเล็ก ตลอดจนที่รองแจกันมีขาดเล็กด้วย

ภาพ:Flo3.jpg
รูปแบบการจัดดอกไม้
การจัดดอกไม้โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
        1. การจัดดอกไม้เลียนแบบธรรมชาติ ( เพื่อใช้เอง) เป็นการจัดดอกไม้แบบง่าย ๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้าน โดยอาศัยความเจริญเติบโตของต้นไม้ ดอกไม้ กิ่งไม้ นำมาจัดลงภาชนะ โดยใช้กิ่งไม้ขนาดต่าง ๆ 3 กิ่ง การจัดดอกไม้แบบนี้ นิยมนำหลักการจัดดอกไม้จากประเทศญี่ปุ่นมาประยุกต์
        2. การจัดดอกไม้แบบสากล นิยมจัด 7 รูปแบบ คือ รูปทรงแนวดิ่ง ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมมุมฉากทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า ทรงพระจันทร์คว่ำ ทรงพระจันทร์เสี้ยว ทรงตัวเอส
        3. การจัดดอกไม้แบบสมันใหม่ เป็นการจัดดอกไม้ที่มีรูปแบบอิสระ เน้นความหมายของรูปแบบบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ดอกไม้แต่อาจใช้วัสดุหรือภาชนะเป็นจุดเด่นเป็นการสร้างความรู้สึกให้ผู้พบเห็น การจัดดอกไม้แบบนี้ยังอาศัยหลักเกณฑ์ สัดส่วนและความสมดุลด้วย
การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด
การเตรียมดอกไม้ก่อนจัด
        1. ดอกไม้ ใบไม้ ที่ซื้อมาจากตลาดต้องนำมาพักไว้ในน้ำอย่างน้อย 45 นาที - 2 ชั่วโมง
        2. นำดอกไม้มาลิดใบที่ไม่สวย เหี่ยว หรือไม่จำเป็นออกไป
        3. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำ หากก้านไม่แข็งให้ตัดตรง หากก้านแข็งให้ตัดเฉียงประมาณ 1 นิ้ว
        4. แช่ดอกไม้พักไว้ในน้ำมาก ๆ
        5. ดอกไม้ที่ซื้อมาค้างคืนให้ห่อด้วยใบตองหรือกระดาษ นำไปแช่ไว้ในถังน้ำ เพื่อไม่ให้ดอกบานเร็ว

ภาพ:Flo4.jpg
หลักทั่วไปในการจัดแจกันดอกไม้
        1. หน้าที่และประโยชน์ใช้สอย ก่อนจัดควรจะทราบวัตถุประสงค์ในการจัดตกแต่งก่อนว่า จะใช้ในงานอะไร และจะจัดวางที่ไหน เช่น วางกลางโต๊ะ วางมุมโต๊ะ ชิดผลัก หรือแจกันติดผนัง เป็นต้น และควรดูด้วยว่า ลักษณะของห้องที่จะจัดวางเป็นห้องลักษณะแบบใด ทรงใด และขนาดเล็ก ปานกลางหรือใหญ่ เพื่อเราจะได้เลือกแจกันและดอกไม้ที่เหมาะสมกับห้องนั้น ๆ ด้วย
        2. สัดส่วน สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะกำหนดว่าแจกันที่จัดเสร็จจะสวยหรือไม่สวย ถ้าสัดส่วนไม่สมดุลย์แจกันที่จัดออกมาก็ไม่สวย สิ่งที่ต้องคำนึง
        2.1 ภาชนะทรงเตี้ย ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความกว้างของภาชนะ
        2.2 ภาชนะทรงสูง ความสูงที่จัดควรเป็น 1.5-2 เท่า ของความสูงของภาชนะ
        3. การเทียบส่วน ระหว่างดอกไม้กับแจกัน, แจกันกับขนาดของห้อง
        4. ความสมดุลย์ เป็นความถ่วงดุล เช่น ซ้ายขวาเท่ากัน หรือ สองข้างไม่เท่ากันแต่หนักไปทางใดทางหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้จัด
        5. การเลือกสี เส้นและขนาดให้แตกต่าง กัน เช่น สีกลาง อ่อน เส้นที่โค้งเรียว ขนาดดอกมีใหญ่เล็กเป็นต้น
        6. ความกลมกลืน คือ การเข้ากันอย่างสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ
        7. ความแตกต่าง เช่น สีของดอก ใบ และภาชนะที่มีสีแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างไม่ควรเกิน 20%
        8. การสร้างจุดเด่น คือ จัดให้มีตัวเด่น ตัวรอง และให้มีการส่งเสริมกันและกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น