วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

น้ำผึ้งกับความงาม

น้ำผึ้งกับความงาม
8ครีมขัดหน้า 
     เป็นครีมขัดหน้าเนื้อนุ่ม ช่วยในการบรรเทา เหมาะสำหรับผิวหน้าแห้งและผิวหยาบกร้าน
ljส่วนผสม
วิธีทำ
oน้ำผึ้งไทยลานนา
อัอัลมอนด์บดละเอียด
น้น้ำมะนาว
1
2
1/2
  ช้อนโต๊ะ
  ช้อนโต๊ะ
  ช้อนโต๊ะ
  1. ผสมน้ำผึ้งไทยลานนา อัลมอนด์บดละเอียด และน้ำมะนาวให้เข้ากัน
  2. ขัดถูอย่างนุ่มนวลให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ 2-3 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น
TOP
 

ครีมน้ำผึ้งและเลซิทิน 
     เป็นไนท์ครีมบำรุงและทำให้ผิวอ่อนเยาว์ เหมาะกับผิวทุกชนิด โดยเฉพาะผิวที่ดูเหลืองซีด
ส่วนผสม
วิธีทำ
น้ำผึ้งไทยลานนา
ลาโนลินชนิดไม่มีน้ำ
น้ำมันอัลมอนด์
น้ำบริสุทธิ์
ผงเลซิทิน
½
2
2
2
1
  ช้อนโต๊ะ
  ช้อนชา
  ช้อนโต๊ะ
  ช้อนโต๊ะ
  ช้อนชา
  1. นำลาโนลิน น้ำผึ้งไทยลานนา และน้ำมันขึ้นตั้งไฟ คนผสมให้ละลายเข้ากัน
  2. อุ่นน้ำบริสุทธิ์ จากนั้นนำไปผสมรวมกับส่วนผสมในข้อ 1 ตีส่วนผสมจนเย็นและข้น
  3. เติมเลซิทินแล้วคนให้เข้ากัน
  4. บรรจุใส่ขวด เก็บไว้ในตู้เย็น ใช้เป็นไนท์ครีมทาก่อนนอนเป็นประจำ

TOP

มาร์คน้ำผึ้งและน้ำส้ม 
     เป็นมาร์คที่ให้ความเปล่งปลั่งและสดชื่นกับผิว เหมาะสำหรับผิวทุกชนิด และสามารถใช้พอกบริเวณรอบตาและปากได้ด้วย
ส่วนผสม
วิธีทำ
น้ำผึ้งไทยลานนา
น้ำส้มคั้น
3
1/2
  ช้อนโต๊ะ
  ผล
  1. ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน
  2. ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น ซับหน้าให้แห้ง
  3. เช็ดด้วยน้ำหรือโทนเนอร์เบา ๆ เพื่อเปิดรูขุมขน แล้วทาด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์บาง ๆ
TOP
 

มาร์คน้ำผึ้งและกล้วยหอม 
     เป็นมาร์คบำรุงผิว เหมาะกับผิวแห้งและผิวธรรมดา
ส่วนผสม
วิธีทำ
น้ำผึ้งไทยลานนา
กล้วยหอมสุก
ครีม
อัลมอนด์บดละเอียด
1
250
2
2
  ช้อนชา
  กรัม
  ช้อนชา
  ช้อนชา
  1. บดกล้วยหอมกับน้ำผึ้งไทยลานนาให้ละเอียด แล้วเติมครีม และอัลมอนด์คนให้เข้ากัน
  2. ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น ซับหน้าให้แห้ง
  3. เช็ดด้วยน้ำหรือโทนเนอร์เบา ๆ เพื่อเปิดรูขุมขน แล้วทาด้วยมอยเจอร์ไรเซอร์บาง ๆ

นวดผมน้ำผึ้งกับอัลมอนด์ 
     เหมาะสำหรับผมแห้ง ผมแตกปลาย และผมถูกทำลาย
ส่วนผสม
วิธีทำ
น้ำผึ้งไทยลานนา
น้ำมันอัลมอนด์
ไข่แดง
1
2
1
  ช้อนชา
  ช้อนโต๊ะ
  ฟอง
  1. ผสมน้ำมันกับน้ำผึ้งไทยลานนาเข้าด้วยกัน จากนั้นนำมาตีรวมกับไข่
  2. ใช้นวดให้ทั่วศีรษะ และทิ้งไว้ 30 นาที ก่อนสระผม

พรอพอลิส คืออะไร นะ

            พรอพอลิส เป็นส่วนผสมที่มีลักษณะเหนียวข้นเป็นยาง (Resinous) ได้มาจากยางของเปลือกไม้ที่ผึ้งงานรวบรวมมา โดยเฉพาะยางที่เคลือบอยู่บริเวณตาใบ (leaf buds) หรือยางที่ไหลออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช โดยนำมาผสมกับไขผึ้งแล้วนำมาซ่อมแซมรัง อุดชันรอยรั่ว ตลอดจนรักษาความสะอาด และป้องกันการระบาดของเชื้อโรคภายในรังได้ด้วย โดยเมื่อมีซากของศัตรูผึ้งตายอยู่ในรัง และมีขนาดใหญ่ที่ผึ้งไม่สามารถจะนำออกไปทิ้งนอกรังได้   ผึ้งจะนำสารพรอพอลิสมาหุ้มไว้ ทำให้ซากนั้นไม่เน่า
            คำว่า พรอพอลิส (Propolis) เป็นภาษากรีก เกิดจากการสมาสคำ 2 คำ คือ  Pro ซึ่งหมายถึง ก่อนหรืออยู่ข้างหน้า และคำว่า Polis ซึ่งหมายถึง เมือง เมื่อรวมคำแล้วจึงมีความหมายว่า "หน้าเมืองหรือกำแพงป้องกันเมือง" นั่นเอง

ส่วนผสมและสารสำคัญในพรอพอลิส

            ด้วยสรรพคุณที่น่ามหัศจรรย์ของพรอพอลิสทำให้มีการวิเคราะห์หาส่วนผสมและสารสำคัญในพรอพอลิส ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ปรากฎว่า พรอพอลิส ประกอบด้วย
§         ส่วนผสมของยางไม้และขี้ผึ้ง ประมาณร้อยละ 50-55
§         ขี้ผึ้งเหลือง ร้อยละ 30
§         น้ำมันหอม ร้อยละ 10-15 และ
§         ละอองเกสร ร้อยละ 5
            จากส่วนผสมดังกล่าว เมื่อพิจารณาในด้านสารประกอบทางเคมี จะพบสารสำคัญที่ทำให้พรอพอลิสมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะที่ดีที่สุดตามธรรมชาติ คือ สารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งเป็นสารประกอบจากพืชที่เป็นที่รู้จักว่ามีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidant) ต่อต้านเชื้อแบคมีเรีย, เชื้อไวรัส, เชื้อรา และมีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบ
            นอกจากนี้ยังพบสารอาหารอื่น ๆ อีกกว่า 22 ชนิด อันได้แก่ กรดอมิโน, คาร์โบไฮเดรต, วิตามินต่าง ๆ, เกลือแร่ เอนไซม์ และสารต้นต่อฮาร์โมนจากธรรมชาติ ฯลฯ 

สรรพคุณของพรอพอลิสทางการแพทย์

            พรอพอลิสให้ผลทางการแพทย์ใน 2 ลักษณะ คือ กระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ซึ่งเป็นระบบอันเป็นกลไกธรรมชาติในร่างกายมนุษย์ ลักษณะที่สองคือออกฤทธิ์ฆ่าหรือทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย อาทิ เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา ตลอดจนเชื้อไวรัสต่าง ๆ อ่อนกำลังหรือไม่สามารถทำอันตรายมนุษย์ได้  
§         เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
            สารประกอบฟลาโวนอยด์ในพรอพอลิสมีผลโดยตรงต่อการกระตุ้นเซลส์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า ฟาโกไซด์ (Phagocyte) ให้มีความสามารถและประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ได้ดีขึ้น รวมทั้งป้องกันการสึกหรอเสื่อมโทรมและชำรุดเสียหายของเซลส์ ตลอดจนสามารถพัฒนาการดูดซึมอาหารที่มีประโยชน์บางชนิดได้ดีขึ้น จึงเป็นผลดีสำหรับแผลที่อยู่ระหว่างติดเชื้อ ทำให้มีการติดเชื้อลดลง รวมทั้งยังเป็นการป้องกันก่อนการติดเชื้ออีกด้วย
§         มีฤทธิ์กำจัดการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
            พรอพอลิสไม่เพียงช่วยป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังมีฤทธิ์ฆ่าหรือทำให้เชื้อโรคที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ ได้มีการทดลองพบว่าพรอพอลิสมีประสิทธิภาพต่อการหยุดยั้งการเจริญเติบโตหรือการทวีปริมาณของเชื้อวัณโรค และป้องกันไม่ให้มันแพร่พันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีฤทธิ์ต่อต้านและทำลายแบคทีเรียได้หลายชนิด รวมทั้งชนิดที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ (สเตร็ปโตค็อคคัส)
            พรอพอลิสมีประสิทธิภาพเป็นยาปฏิชีวนะเหนือกว่าเตทราไซคลีน (Tetracyclin) เพนนิซิลิน (Penicilin) และสเตร็ปโตมัยซิน (Streptomycin) ยาปฏิชีวนะทั้งสามชนิดนี้เป็นผลิตผลจากจุลินทรีย์ ในขณะที่ฟลาโวนอยด์ในพรอพอลิสเป็นผลิตผลจากต้นไม้   ซึ่งร่ายกายมนุษย์มีการตอบสนองต่อการบำบัดด้วยพรอพอลิสได้ดีกว่ายาปฏิชีวนะ ซึ่งมักก่อให้เกิดผลข้างเคียงไม่มากก็น้อย
§         เสริมฤทธิ์ยาปฏิชีวนะ
            นอกจากมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะโดยตัวมันเองแล้ว พรอพอลิสยังช่วยเสริมประสิทธิภาพยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพ 10-100 เท่าของประสิทธิภาพเดิม นอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะชนิดที่เป็นขี้ผึ้ง หรือน้ำมันสมานแผลได้เป็นอย่างดี
§         เป็นสารต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
            สารประกอบฟลาโวนอยด์ในพรอพอลิสมีคุณค่าสูงในการบำรุงรักษาหลอดโลหิตฝอยให้อยู่ในสภาพทีดี นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นเสริมประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินซี ด้วยการป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกไซด์ เสริมประสิทธิภาพการทำงานในหลอดโลหิต ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมโทรม แก่เร็ว เพราะกลุ่มอณุมูลอิสระในเซลส์จะถูกยึดไว้ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฟลาโวนอยด์ยังมีขีดความสามารถห่อหุ้มโลหะที่มีน้ำหนักอย่างตะกั่ว ปรอท และแคดเมี่ยม เพื่อป้องกันไม่ให้โลหะเหล่านี้ทำอันตรายแก่ร่างกายได้ รวมทั้งขับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อันเกิดจากการผลิตของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดด้วย
§         ออกฤทธิ์ยับยั้งการผลิตพรอสตาแกลนดินส์
            เมื่อร่างกายมีการติดเชื้อหรือมีบาดแผล ร่ายกายจะขับพรอสตาแกลนดินส์ (Prostagrandins) ออกจากต่อม ทำให้เกิดความเจ็บปวดบาดแผล แผลอักเสบ และเป็นไข้ตัวร้อน สารประกอบฟลาโวนอยด์ในพรอพอลิสมีฤทธิ์สกัดการผลิตพรอสตาแกลนดิสก์ในร่างกาย จึงช่วยบรรเทาอาการปวดในลักษณะคล้ายแอสไพริน แต่เป็นสารจากธรรมชาติ ไม่ใช่สารชีวเคมีสังเคราะห์ จึงไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
§         ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามิน
            หากร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามา อันเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ ฮิสตามิน (Histamine) จะถูกขับออกจาก มาสต์เซลส์ (Mastcells) ทำให้เกิดอาการแพ้ ปวดบวม เป็นผื่นแดง หรือคันตามผิวหนัง อาการดังกล่าวจะลดลงถ้ามีสารบางอย่างมาสกัดกั้นการขับฮิสตามิน (แอนติฮิสตามิน : Anti-Histamine) ซึ่งพบว่าสารประกอบฟลาโวนอยด์ในพรอพอลิสมีฤทธิ์ยังยั้งการขับสารฮิสตามินของมาสต์เซลส์ได้ดี          

  • บรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบของแผล
  • บรรเทาอาการบวม เป็นผื่นแดง และคันตามผิวหนังของโรคภูมิแพ้
  • บำบัดอาการเจ็บคอ และการอักเสบในลำคอ รวมทั้งอาการผิดปกติอื่น ๆ ในช่องปาก ช่องโพรงจมูกและช่องหู
  • บำบัดอาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการปวดตามข้อกระดูก รวมถึงอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวอื่น ๆ 
  • บำบัดรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน ลดการอักเสบ ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผิวเนื้อส่วนที่ได้รับความร้อน
  • บำบัดอาการช่องท้องและลำไส้เป็นแผล
  • บำบัดอาการโรคผิวหนังได้หลายชนิด รวมทั้งสิว อาการผื่นคันตามเนื้อตัว โรคหัด โรคเริม หูด              

น้ำผึ้งแท้(Pure HONEY)

น้ำผึ้งแท้ (Pure Honey)
น้ำผึ้งลำไย (Longan Honey) / น้ำผึ้งดอกไม้ป่า (Wild Flower Honey)
      

น้ำผึ้งลำไย : น้ำผึ้งลำไย เป็นน้ำผึ้งที่ได้มาจากน้ำหวานของดอกลำไยในฤดูกาลของดอกลำไยบานสะพรั่ง มีกลิ่นหอม เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป เป็นน้ำผึ้งเกรดหนึ่งที่ทุกคนยอมรับ
น้ำผึ้งดอกไม้ป่า :น้ำผึ้งดอกไม้ป่า เป็นน้ำผึ้งที่ได้มาจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ รสชาติหอมหวาน มีคุณสมบัติเหมือนกับน้ำผึ้งลำไย ต่างกันที่รสชาติ น้ำผึ้งดอกไม้ป่าจะมีรสชาติหอมเย็น ส่วนน้ำผึ้งลำไยจะมีรสชาติหอมแรงกว่า
ขนาด
การบรรจุ
ราคา
1,000 กรัม
บรรจุขวดพลาสติกเพ็ท ขนาด 750 ซีซี
200 บาท
*ขนาดใหม่ 500 กรัม*
บรรจุขวดเพ็ทปากกว้าง ขนาด 350 ซีซี
110 บาท
ขนาด 360 กรัม
บรรจุขวดเพ็ททรงกลม ฝาเปิด-ปิดง่าย ใช้งานสะดวก
95 บาท
 300 กรัม
บรรจุกระปุกแก้ว ทรงกลม
80 บาท

การเก็บรักษา : เก็บที่อุณหภูมิห้อง ไม่ถูกแสงแดด ไม่จำเป็นต้องแช่เย็น
การรับประทาน :1. รับประทานวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ตอนเช้าก่อนอาหาร หรือก่อนนอน
2. 
 ผสมในเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น น้ำมะนาว นมสด ชา กาแฟ ฯลฯ
 

เกสรผึ้ง

เกสรผึ้งคืออะไร
เกสรผึ้ง หรือบีพอลเลน คือละอองเม็ดเล็ก ๆ คล้ายฝุ่นแป้งที่เกิดและหลุดจากช่อเกสรตัวผู้ของดอกไม้ ที่ผึ้งเป็นผู้รวบรวมคลุกเคล้ากับน้ำหวานของดอกไม้ และทำเป็นก้อนเล็ก ๆ ติดไว้ที่ปลายขาหลังทั้งสองข้าง แล้วนำไปเก็บไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงตัวอ่อน
ผึ้งงาน 1 ตัว จะรวบรวมเกสรได้ 4 ล้านอณูใน 1 ชั่วโมง, ละอองเกสร 1 ช้อนชา จะมีเกสรถึง 25 พันล้านอณู ซึ่งแต่ละอณูสามารถเจริญเป็นผลไม้ได้ 1 ผล หรือต้นไม้ 1 ต้น เกสรผึ้งอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุจำนวนมาก
            
            เกสรผึ้งอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์มากมาย เช่น
  • โปรตีน เป็นส่วนใหญ่และโปรตีนนี้มีประโยชน์ต่อผึ้ง และมนุษย์สูงกว่าเนื้อ นม ไข่ ถึง 5 เท่า ในขนาดที่มีน้ำหนักเท่ากัน
  • วิตามิน 16 ชนิด ได้แก่ วิตามินบีคอมเพล็กซ์, วิตามินเอ, วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินเค
  • กรดอะมิโน 18 ชนิด และมีชนิดที่จำเป็นในการช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • เอนไซม์ 18 ชนิด
  • แร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โพแทสเซี่ยม, เหล็ก, ทองแดง, ไอโอดีน และสังกะสี ฯลฯ
  1. ทางอาหาร เกสรผึ้งเป็นอาหารที่ย่อยสลายง่าย ถือได้ว่าเป็นอาหารเพื่อการดำรงชีวิตที่สมบูรณ์แบบโดยตัวของมันเอง และยังมีคุณค่าต่อการฟื้นฟูความสมดุลของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงและกะปรี้กะเปร่า
  2. ทางสมุนไพร   เกสรผึ้งสามารถบำบัดบรรเทาโรคเหล่านี้ได้ เช่น
§         ภูมิแพ้ (แพ้อากาศและฝุ่นละออง)        
§         โพรงจมูกอักเสบหรือไซนัส
§         ไข้หวัดใหญ่
§         หืดหอบ
§         รูมาติซั่ม
§         รอบเดือนในสตรีไม่ปกติหรือปวดรอบเดือน
§         อาการกระวนกระวายในสตรีวัยหมดประจำเดือน
§         ชะลอการตกกระของผิวหนัง
§         ความดันโลหิตสูง        
§         ไมเกรน
§         เบาหวาน (ช่วยลดน้ำตาลในเลือด)
§         ต่อมลูกหมากอักเสบ
§         ปวดข้อ ปวดกระดูก
§         นอนไม่หลับ
§         ปวดแสบปวดร้อนอันเนื่องจากแผลพุพอง   ฯลฯ
  1. ทางบำรุงและเสริมสร้าง   เกสรผึ้งยังเป็นสารช่วยบำรุงและเสริมสร้างในเรื่องต่อไปนี้ให้ดีขึ้น คือ
§         บำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอในคนผิวแห้ง
§         บำรุงเส้นผมให้ดกดำและหงอกช้า
§         ทำให้มีความทรงจำและสมาธิดีขึ้น
§         เกสรผึ้งเป็นสารฮอร์โมนธรรมชาติที่ช่วยกระตุ้นและบำรุงระบบสืบพันธ์ทั้งชายและหญิง
§         บำรุงนักกีฬา ช่วยคลายความเหน็ดเหนื่อยและอ่อนเพลีย
§         บำรุงจิตใจสำหรับผู้ที่มีอาการทางจิต ได้รับความกดดันจากความชราหรือซึมเศร้า กลัดกลุ้ม คิดมาก







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
บริษัท ไทยลานนาฟาร์มผึ้ง จำกัด
กรุงเทพฯ : 510 ซ.สุคนธชาติ (สุขุมวิท 95) แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ10260 Tel.02-331-1402 Fax.02-331-4945
เชียงใหม่ : 95/9 ถ.ศรีดอนไชย ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 Tel.053-275-274, 053-820-642 Fax.053-820-643
E-mail : info@thailanna.co.th

น้ำผึ้ง คืออะไร

น้ำผึ้ง เป็นอาหารหวานที่ผึ้งผลิตโดยใช้น้ำต้อยจากดอกไม้ น้ำผึ้งมักหมายถึงชนิดที่ผลิตโดยผึ้งน้ำหวานในสายพันธ์[Apis]] เนื่องจาก เป็นผึงเก็บน้ำหวานให้คุณภาพสูง และสามารถเลี้ยงระบบกล่องได้ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำต้อยที่มา และมีน้ำผึ้งหลายชนิดและเกรดที่สามารถหาได้ นอกจากนี้ ยังมีภูมิปัญญาที่ใช้น้ำผึ้งในการรักษาอาการเจ็บป่วย
กระบวนการผลิต
ผึ้งน้ำหวานเปลี่ยนน้ำต้อยเป็นน้ำผึ้งด้วยขบวนการการขย้อน และเก็บไว้เป็นแหล่งอาหารหลักในรังผึ้ง honeycomb โดยผึงจะสร้าง ขี้ผึ้งจากเศษเกสรดอกไม้และน้ำเมือก โดยจะเก็บของเหลว จากการขย้อน]ลงใน ฐานหกเหลียม และปิดไว้ด้วย ขี้ผึ้งอ่อน

[แก้] คุณค่าทางโภชนาการ

น้ำผึ้งได้ความหวานจากมอโนแซ็กคาไรด์ ฟรุกโทสและกลูโคส และมีความหวานประมาณเทียบได้กับน้ำตาลเม็ด[1][2] น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางเคมีที่ดึงดูดในการอบ และมีรสชาติพิเศษซึ่งทำให้บางคนชอบน้ำผึ้งมากกว่าน้ำตาลและสารให้ความหวานอื่น ๆ[1] จุลินทรีย์ส่วนมากไม่เจริญเติบโตในน้ำผึ้งเพราะมีค่าแอกติวิตีของน้ำต่ำที่ 0.6[3] อย่างไรก็ดี บางครั้งน้ำผึ้งก็มีเอนโดสปอร์ในระยะพักตัวของแบคทีเรีย Clostridium botulinum ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารก เพราะเอนโดสปอร์สามารถแปลงเป็นแบคทีเรียที่ผลิตชีวพิษในทางเดินอาหารที่ยังไม่เจริญเต็มที่ของทารก ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บป่วยและอาจถึงแก่ชีวิต[4]

[แก้] ส่วนประกอยทางเคมี

น้ำผึ้งคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 ก. (3.5 ออนซ์)
พลังงาน 300 kcal   1270 kJ
คาร์โบไฮเดรต    82.4 g
- น้ำตาล  82.12 g
- เส้นใย  0.2 g  
ไขมัน0 g
โปรตีน0.3 g
น้ำ17.10 g
วิตามินบี2  0.038 mg  3%
ไนอะซิน  0.121 mg  1%
วิตามินบี5  0.068 mg 1%
วิตามินบี6  0.024 mg2%
กรดโฟลิก (B9)  2 μg 1%
วิตามินซี  0.5 mg1%
แคลเซียม  6 mg1%
เหล็ก  0.42 mg3%
แมกนีเซียม  2 mg1% 
ฟอสฟอรัส  4 mg1%
โพแทสเซียม  52 mg  1%
โซเดียม  4 mg0%
สังกะสี  0.22 mg2%
Shown is for 100 g, roughly 5 tbsp.
ร้อยละของปริมาณที่ต้องการในแต่ละวัน
สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำในสหรัฐอเมริกา
แหล่งที่มา: USDA Nutrient database

น้ำผึ้งเป็นสารผสมของน้ำตาลกับสารประกอบอื่น น้ำผึ้งส่วนใหญ่เป็นฟรุกโทส (ราว 38.5%) และกลูโคส (ราว 31.0%)[1] ทำให้น้ำผึ้งคล้ายกับน้ำเชื่อมน้ำตาลอินเวิร์ท (inverted sugar syrup) ที่ผลิตเชิงสังเคราะห์ ซึ่งมีปริมาณฟรุกโทส 48% กลูโคส 47% และซูโครส 5% คาร์โบไฮเดรตที่เหลือในน้ำผึ้งมีมอลโทสและคาร์โบไฮเดรตซับซ้อนอื่น ๆ[1] เช่นเดียวกับสารให้ความหวานที่บำรุงสุขภาพทุกชนิด น้ำผึ้งส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลและมีวิตามินหรือแร่ธาตุอยู่เล็กน้อย[5][6] น้ำผึ้งยังมีสารประกอบหลายชนิดในปริมาณน้อยซึ่งคาดกันว่าทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงไครซิน พิโนแบค์ซิน วิตามินซี คาตาเลสและพิโนเซมบริน[7][8] องค์ประกอบที่เจาะจงของน้ำผึ้งแต่ละกลุ่มนั้นขึ้นอยู่กับดอกไม้ที่ผึ้งใช้ผลิตน้ำผึ้ง[5]
ผลการวิเคราะห์น้ำผึ้งตามแบบ มีสารดังต่อไปนี้
  • ฟรุกโทส 38.2%
  • กลูโคส 31.3%
  • มอลโทส 7.1%
  • ซูโครส 1.3%
  • น้ำ 17.2%
  • น้ำตาลที่สูงกว่า 1.5%
  • เถ้า 0.2%
  • อื่น ๆ/ไม่กำหนด 3.2%[9]
ค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ระหว่าง 31 ถึง 78 แล้วแต่ชนิด[10] น้ำผึ้งมีความหนาแน่นราว 1.36 กิโลกรัมต่อลิตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 36%)[11]

[แก้] โภชนาการทางการรักษา

[แก้] ในประเทศไทย

น้ำผึ้ง ตามแบบแผนการรักษา ตำรับย่โบราณของไทย ได้มีการสืบทอดกันมา ตามสูตรยาสมุนไพรโบราณ มักนำมาใช้แต่งกลิ่นเจือรส ชูความง่ายในการรับประทาน เพราะส่วนมากสมุนไพรมักมีรสฝาดและขม โดยน้ำผึ้งใช้ทั้งแต่รส ขึ้นรูป และเป็นส่วนประกบในยาแผนโบราณหลายชนิด ตามสรรพคุณ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ปวดหลัง ปวดเอว ทำให้แห้ง ใช้ทำยาอายุวัฒนะ

  • แต่งรส น้ำผึ้งมีรสหวานฝาด ร้อนเล็กน้อยเราใช้น้ำผึ้งแต่งรสยาบางชนิด เช่น ยาแก้ไข้ที่มีรสขมมาก จนคนไข้กินไม่ได้ เราต้องใช้น้ำผึ้งผสมใและช่วยชูกำลัง

  • ปรุงยา เป็นส่วนประกอบในการนำไปใช้ โดยน้ำผึ้งมาผสมกับยาผงให้เหนียว เพื่อปั้นเป็นลูกกลอน แต่ผู้ปรุงยาควรนำน้ำผึ้งไปเคี่ยวให้เดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรค มิฉะนั้น ยาลูกกลอนจะขึ้นราภายหลัง


ตามความเชือโบราณ น้ำผึ้งเดือน 5 เป็นน้ำผึ้งที่ดีที่สุด เนื่องด้วยอากาศที่แห้ง จึ้งทำให้น้ำผึ้งมีความเข้มข้นสูง
ตามหลักการแพทย์แผนไทยแล้ว น้ำผึ้งมีประโยชน์มากมายก็จริง แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย แนะนำว่าไม่ควรกินน้ำผึ้งแบบเข้มข้นโดยไม่ผสมอะไรเลย เช่น คนที่ดีพิการ คือ มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง นอนสะดุ้งผวา สอง เสมหะพิการ คือมีเสมหะมากและมีภาวะโรคปอดแทรก สาม คนที่น้ำเหลืองเสีย มีฝีพุพอง ตุ่มหนอง หรือโรคครุฑราชต่างๆ

[แก้] ในประเทศจีน

ภาษาจีน แต้จิ๋ว เรียกน้ำผึ้งว่า "พังบิ๊ก" เป็นยาบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะบำรุงลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ลดความร้อนในร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย และยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย น้ำผึ้งมีรสชาติหวาน ชุ่มคอ สามารถใช้ได้ทั้งเดี่ยว และนำไปเป็นส่วนผสมของยา กรณีที่ใช้เดี่ยวโดยมากใช้ในกรณีลำไส้ไม่ดี
ถ้าร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว กินน้ำผึ้งประจำจะไปช่วยเคลือบลำไส้ ช่วยระบบขับถ่าย แต่สำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ กากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้จะแข็งตัว ถ้าปล่อยให้ท้องผูกนานๆ กากอาหารจะขูดผนังลำไส้ อาจทำให้เป็นแผล และมีปัญหาสุขภาพตามมา ซึ่งถ้าเรากินน้ำผึ้งเพื่อช่วยเคลือบลำไส้จะช่วยลดปัญหาลงได้

[แก้] การใช้น้ำผึ้งเป็นอาหารและยา

  • ลดการอักเสบ หากมีบาดแผลหรือแผลถลอกให้ล้างด้วยน้ำเบกกิ้งโซดา หรืออบเชย ชาเสจ ชาใบผักชี (ที่เย็นแล้ว) ซึ่งมีสรรพคุณฆ่าเชื้อทั้งสิ้น อาจใช้ชาดำธรรมดา น้ำมันหอม และน้ำมันกระเทียมช่วยล้างด้วยเพื่อห้ามเลือด จากนั้นทาน้ำผึ้งสะอาดบนแผล น้ำผึ้งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็ว
  • รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา ใช้ผงขมิ้นผสมน้ำผึ้งทาบริเวณกลากเกลื้อน วันละ 2 ครั้ง
  • ต้านข้ออักเสบ ผสมน้ำส้มแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนชาลงในน้ำร้อน เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ชงดื่มวันละ 2 ครั้ง
  • แก้อาการท้องผูก กินกล้วยน้ำว้าสุกจิ้มน้ำผึ้งหรือมันต้มสุกจิ้มน้ำผึ้ง ช่วยลดอาการท้องผูกได้เช่นกัน
  • แก้นอนไม่หลับ น้ำผึ้งเป็นยาระงับประสาทอ่อนๆ ชงน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่นหรือชาดอกไม้ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ ดื่มก่อนนอนจะช่วยให้หลับสบายขึ้น
  • บำรุงเลือด เทน้ำผึ้งครึ่งช้อนโต๊ะใส่แก้ว บีบน้ำมะนาว 1 ซึก ใส่เกลือนิดหน่อยเติมน้ำร้อน ดื่มเป็นยาบำรุงเลือด
  • บรรเทาอาการไอ บีบมะนาวฝานสดๆหนึ่งเสี้ยวเข้าปากให้ลงลำคอ และจิบน้ำผึ้งแท้ หนึ่งช้อนโต๊ะ อมไว้ หายไอดีมาก หรือ
    • ส่วนผสม: น้ำผึ้ง 500 กรัม ขิงสด1.2 กิโลกรัม (1 ชั่ง)
    • วิธีทำ: คั้นขิงสดเอาแต่น้ำ แล้วนำมาผสมกับน้ำผึ้งต้มจนแห้ง
    • วิธีกิน: กินครั้งละขนาดเท่าลูกอมจะช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
  • บำบัดเบาหวาน
    • ส่วนผสม: สาลี่หอมหรือสาลี่หิมะจำนวน 5 ลูก น้ำผึ้ง 250 กรัม
    • วิธีทำ: ปอกเปลือกสาลี่แล้วตำให้ละเอียด นำไปคลุกกับน้ำผึ้งแล้วต้มจนเหนียว บรรจุใส่ขวด
    • วิธีกิน: ผสมน้ำกิน ช่วยแก้อาการไอและบำบัดโรคเบาหวานได้
  • ลดความดันโลหิตสูง
    • ส่วนผสม: น้ำผึ้งและงาดำ อย่างละ 50 กรัม
    • วิธีทำ: ตำงาดำให้ละเอียดแล้วคลุกกับน้ำผึ้ง
    • วิธีกิน: ชงกับน้ำร้อนดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูงและบรรเทาอาการท้องผูกเรื้อรัง
  • ช่วยปรับสมดุลร่างกายและควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคปวดข้อ เป็นตะคริวอยู่บ่อย ๆ หรือโรคอ้วน สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี และช่วยบรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งได้มีการพิสูจน์และใช้กันมานานในอเมริกาและยุโรป โดยนำน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อน (Raw Organic Honey) 3 ช้อนชา และน้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ลไม่ผ่านความร้อน (Raw Organic Apple Cider Vinegar) 3 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว ดื่มทุกเช้าหลังตื่นนอน และระหว่างมื้อเป็นประจำทุกวัน จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและสดชื่น
  • สำหรับผิวหน้าสดใส ผู้ที่มีปัญหาสิวเสี้ยนหรือต้องการบำรุงผิวหน้าให้ดูอ่อนเยาว์ มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ หลังจากล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นและเช็ดให้แห้งแล้ว นำกล้วยหอม 1/2 ลูก นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อน แล้วนำมาทาบนหน้า ทิ้งไว้ซัก 10-15 นาที แล้วล้างออก น้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อนจะมีเอ็นไซน์ ซึ่งทำให้หน้าคุณชุ่มชื่นและนุ่มนวลขึ้น
  • เพื่อผมเงางาม หลังสระผมเสร็จนำน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อนผสมกับน้ำมะกอกอย่างละ 3 ช้อนโต๊ะ นำมาชโลมผมแล้วทิ้งไว้ซัก 3-5 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ผมคุณจะนิ่มและเงางามตามธรรมชาติปราศจากสารเคมีใด ๆ

[แก้] ทดสอบน้ำผึ้งแท้

ปัจจุบันผู้ผลิตบางรายมักใส่สารแปลกปลอมลงในน้ำผึ้ง การตรวจจับด้วยเทคนิคด่างๆ จึงเป็นเรื่องยาก นอกจากตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้นซึ่งมีราคาแพงและค่อนข้างยุ่งยาก วิธีที่ดีที่สุดคือควรซื้อน้ำผึ้งจากผู้ขายที่เชื่อใจได้ หรือมิฉะนั้นต้องใช้สายตาประเมินคุณภาพดังต่อไปนี้
  1. มีความข้นและหนืดพอสมควรซึ่งแสดงว่าน้ำผึ้งมีน้ำน้อย มีคุณภาพสูง
  2. มีสีตามธรรมชาติ ตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงน้ำตาล ใส ไม่ขุ่นทึบ
  3. มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งตามชนิดของดอกไม้นั้นๆ เช่น น้ำผึ้งจากดอกลำไย น้ำผึ้งจากดอกลิ้นจี่
  4. ปราศจากกาก ไขผึ้ง หรือเศษตัวผึ้งปะปน รวมทั้งวัสดุแขวนลอยต่างๆ
  5. ไม่มีกลิ่นบูดเปรี้ยว ไม่มีฟอง
  6. ไม่มีการใส่สารปรุงแต่งสี กลิ่น รสใดๆ ลงในน้ำผึ้ง
  7. การหยดน้ำผึ้งใส่กระดาษไข ถ้าเป็นของแท้จะไม่ซึมแน่นอน
  8. ทดสอบโดยหยดน้ำผึ้งลงในแก้วน้ำชา สังเกตการละลายถ้าเป็นนํ้าผึ้งแท้เมื่อคนให้เข้ากันจะไม่ละลายในทันที

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 1.2 1.3 National Honey Board. "Carbohydrates and the Sweetness of Honey". Last accessed 1 June 2012.
  2. ^ Oregon State University. "What is the relative sweetness of different sugars and sugar substitutes?". Retrieved 1 June 2012.
  3. ^ Lansing Prescott, John P. Harley, Donald A. Klein (1999). Microbiology. Boston: WCB/McGraw-Hill. ISBN 0-697-35439-3. 
  4. ^ Shapiro, Roger L.; Hatheway,, Charles; Swerdflow,, David L. (1998). "Botulism in the United States: A Clinical and Epidemiologic Review". Annals of Internal Medicine 129 (3): 221–8. doi:10.1059/0003-4819-129-3-199808010-00011. PMID 9696731. 
  5. ^ 5.0 5.1 Questions Most Frequently Asked About Sugar. American Sugar Alliance. 
  6. ^ USDA Nutrient Data Laboratory "Honey." Last accessed 24 August 2007.
  7. ^ Martos I, Ferreres F, Tomás-Barberán F (2000). "Identification of flavonoid markers for the botanical origin of Eucalyptus honey". J Agric Food Chem 48 (5): 1498–502. doi:10.1021/jf991166q. PMID 10820049. 
  8. ^ Gheldof N, Wang X, Engeseth N (2002). "Identification and quantification of antioxidant components of honeys from various floral sources". J Agric Food Chem 50 (21): 5870–7. doi:10.1021/jf0256135. PMID 12358452. 
  9. ^ Beesource Beekeeping » Honey Composition and Properties. Beesource.com. Retrieved on 6 February 2011.
  10. ^ Gov.au/reports. None. Retrieved on 9 January 2012.
  11. ^ Rainer Krell, (1996). Value-Added Products from Beekeeping (Fao Agricultural Services Bulletin). Food & Agriculture Organization of the UN. ISBN 92-5-103819-8.